สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดการแข่งขันเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องในวันวิทยาศาสตร์ 18 สิงหาคม 2565  ณ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และ ห้อง COMP1 อาคารวิจัยประยุกต์สิรินธร 

โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 15 โรงเรียน นักเรียนเข้าร่วม 20 ทีม ทีมละ 3 คน รวม 60 คน และคุณครูอีก 20 คน ดังนี้

schools

 

ผลการแข่งขัน

  • รางวัลชมเชย ลำดับที่ 7 จากโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จังหวัดปัตตานี
  • รางวัลชมเชย ลำดับที่ 6 จากโรงเรียนดารุลมาอาเรฟมูลนิธิ จังหวัดสตูล
  • รางวัลชมเชย ลำดับที่ 5 จากโรงเรียนเบตง"วีระราษฎร์ประสาน" จังหวัดยะลำ
  • รางวัลชมเชย ลำดับที่ 4 จากโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ จังหวัดสงขลา

  •  รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 3 จากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา

  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • รางวัลชนะเลิศ อันดับที่ 1 จากโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวทิยาลัย จังหวัดนครศรีธรรมราช

ภาพบรรยากาศงาน

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมความเยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านการจัดประกวดแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังเช่น การจัดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย หรือ NSC (National Software Contest) ซึ่งทางสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เป็นศูนย์ประสานงานภาคใต้ ร่วมมือกับ สวทช. และ วช.จัดการแข่งขันระดับภูมิภาค มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยในปี 2565 การแข่งขัน NSC จะเข้าสู่ปีที่ 25 มีนักเรียน นักศึกษา ที่ผ่านการแข่งขัน NSC จำนวนไม่น้อย ได้เข้ามีโอกาสเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและได้สร้างผลงานและต่อยอดผลงานด้านซอฟต์แวร์ และเป็นกำลังสำคัญในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนภูมิภาคและระดับชาติ

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2565 สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับมหาวิทยาลัยในเครือข่าย 10 สถาบัน ภายในงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ 2565 (Thailand Research Expo 2022) ณ เซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร 

ในการนี้ รองศาสตราจารย์ นพ.สุนทร วงษ์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นตัวแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง หรือ MOU ดังกล่าว เพื่อร่วมกันดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การประกวดแข่งขัน การจัดกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์ และการฝึกทักษะวิจัยในห้องปฏิบัติการเพื่อต่อยอดเวทีในระดับชาติและระดับนานาชาติ และสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนก้าสู่เส้นทางอาชีพนักวิจัย วิศวกรวิจัยหรือนวัตกร ต่อไป

มหาวิทยาลัย 10 สถาบัน ในเครือข่ายความร่วมมือกับ วช. และ สวทช. ในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวนี้ ได้แก่

  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
    มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 4 นายพีรวิชญ์ เจนพิทยา ผ่านการคัดเลือกเป็นตัวแทนนักเรียนไทยในโครงการ Huawei Seeds 2022 

 

 

 

 
นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์คว้ารางวัลชนะเลิศโครงการแข่งขันทางด้านวิชาการ จัดโดยสภาคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย และสหพันธ์นิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยประจำปีการศึกษา 2564 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2565 
 
หัวข้อผลงานวิจัย : Digital Engineering โครงการการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (คนไข้พร้อม)

ทีมผู้พัฒนา

 - นายจักรกฤษ ศรีงาม รหัสนักศึกษา 6410110062

 - นางสาวธนวรรณ แซ่เจียง รหัสนักศึกษา 6410110210

 - นายธรรมาธิป ชิตพงศ์ รหัสนักศึกษา 6410110663

 - อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์เสกสรรค์ สุวรรณมณี

นักศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. ได้รับรางวัลชมเชย โปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการและผู้สูงอายุ ระดับนิสิต นักศึกษา โครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 (NSC 2022) รอบชิงชนะเลิศ
 
ชื่อโครงงาน PillTrack : ระบบติดตามการรับประทานยาเม็ดสำหรับผู้สูงอายุ

 พัฒนาโดย นายกันตวิชญ์ เจนพิทยา

 อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.เพ็ชรัตน์ สุริยะไชย

 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.

PillTrack เป็นระบบติดตามการรับประทานยาเม็ดสำหรับผู้สูงอายุ เป็นระบบที่พัฒนาเพื่อช่วยแก้ปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดีผู้สูงอายุบางท่านอาจลืมรับประทานยา หรือรับประทานยาผิดชนิดหรือผิดเวลา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ระบบ PillTrack ประกอบด้วยกล่องยาที่มีระบบตรวจจับภาพเม็ดยาด้วยศาสตร์ปัญญาประดิษฐ์ จากนั้นจะแสดงจำนวนเม็ดยาคงเหลือภายในกล่องยาและข้อมูลการรับประทานยาของผู้ป่วยในแต่ละวันบนหน้าเว็บแอปพลิเคชัน ระบบนี้จึงช่วยให้แพทย์หรือผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถติดตามพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานยาครบตามที่แพทย์สั่ง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย

การให้คำปรึกษาและติดตามผลการเรียนจากอาจารย์ที่ปรึกษา พบปะกับเพื่อน-รุ่นพี่ เป็นสิ่งสำคัญของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาวิชาฯ ให้ความสำคัญในการดูแลนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ อย่างสม่ำเสมอ
แม้ในสถานการณ์ การแพร่ระบาด covid-19 ระยะทางไม่ใช่อุปสรรค การปรับเปลียนรูปแบบพบปะแบบออนไลน์ เป็นช่องทางหนึ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย เพื่อให้ความตั้งใจที่จะดูแลและรับฟังนักศึกษา ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติโดยเร็ววัน
 
Page 19 of 26
Go to top