คณะครูและนักเรียน IDN Boarding School ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายชั้นนำจากประเทศอินโดนีเซีย มุ่งเน้นด้านการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) จำนวน 77 คน เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์๋ วันพฤหัสที่ 22 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568
ทางสาขาวิชาฯ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกของสาขาวิชาฯ อย่างใกล้ชิด
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ (รหัส 68) ที่ผ่านการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์ที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้ โครงการ "การเตรียมความพร้อมนักศึกษาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์" ขึ้น ในระหว่าง วันที่ 9 – 13 มิถุนายน 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น ณ ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Laboratory) R300 และห้องปฏิบัติการสนามทดลองปัญญาประดิษฐ์ (AI Workshop) R302 สาขาวิชาฯ ขอให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิศวกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร หัวข้อ Digital Transformation Ethical and Security Issues ในการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. 2568 ของ สมาคมนวัตกรรมการพยาบาลและสุขภาพ หรือ Nursing Innovation and Health Association (NIHA) โดยจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 11.00-12.00 น. ผ่านการประชุมซูมออนไลน์
โครงการส่งเสริมการลงทุนหรือประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระยะการก่อตั้งธุรกิจ ในรูปแบบแนวคิดธุรกิจ (Idea Stage) ได้เป็น Finalist ได้รับเงินทุนสนับสนุน 200,000 บาท
ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จัดกิจกรรมการตัดสินดิจิทัลสตาร์ทอัพ ระยะ Idea Stage รอบ Final Pitching และกิจกรรมต่อยอดการสร้างเครือข่ายระดับประเทศ (Networking) พร้อมด้วยงานแถลงข่าวการสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพผ่านมาตรการ depa Digital Startup Fund ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สำนักงานใหญ่) ซอยลาดพร้าว เขตจตุจักร 10 โดยมี นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล depa เป็นประธานเปิดกิจกรรม และ ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นเข้าร่วมกิจกรรม โดยปีนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมตัดสินดิจิทัลสตาร์ทอัพ ระยะ Idea Stage ทั้งสิ้น 120 ทีมจาก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ก่อนคัดเหลือ 45 ทีมผ่านเข้าสู่รอบ Final Pitching ในครั้งนี้ และคัดเลือกทีมที่มีศักยภาพโดดเด่น 26 ทีมได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก depa ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund)
โครงการ Watermatic – ระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะสำหรับโรงแรม ผ่านเข้ารอบ Finalist ในโครงการส่งเสริมการลงทุนหรือประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระยะ Idea Stage พร้อมได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 200,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบและต่อยอดสู่การใช้งานจริงในภาคธุรกิจ
ทีม Watermatic ประกอบด้วย
• CEO: นางสาวพิชชาภัทร์ แซ่หลี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
• CTO: นายสิริพงษ์ โชติรัตน์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
• COO: นางสาวนันท์นภัส ระวังงาน วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ สาขาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
















สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติ “It's All About the Computer Engineer” สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ครั้งที่ 1 สอนโดยคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค และนักศึกษาของสาขาวิชา จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21 - 25 เมษายน 2568 ณ ห้องปฏิบัติการประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรที่ 1 Easy Robot
เนื้อหา การบังคับหุ่นยนต์เบื้องต้น การต่อประสานเซ็นเซอร์กับการทำงานของหุ่นยนต์เบื้องต้น การบังคับหุ่นยต์ตามภาระกิจ
วิทยากร ผศ.ดร. สหพงศ์ สมวงค์
หลักสูตรที่ 2 Unity Low-Code Game Maker
เนื้อหา พื้นฐานการพัฒนาเกมด้วยยูนิตี้ การสร้างเกมแบบ Low Code การบังคับให้วัตถุให้เคลื่อนไหว
วิทยากร ผศ.ดร. กฤษณ์วรา รัตนโอภาส
หลักสูตรที่ 3 Cyber$ecu®ity
เนื้อหา ความมั่นคงไซเบอร์ การเข้ารหัส การถอดรหัส การหาช่องโหว่ การป้องกันช่องโหว่
วิทยากร รศ.ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ ผศ. ธัชชัย เอ้งฉ้วน ดร.ธนาธิป ลิ่มนา นายรุ่งโรจน์ แซ๋จุ้ง นายพิพัฒน์ พิพิธพัฒนพงศ์
หลักสูตรที่ 4 Introduction to Python Programming
เนื้อหา การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอน เงื่อนไข ทางเลือก วงวน อัลกอริทึม
วิทยากร อ.เสกสรรค์ สุวรรณมณี
หลักสูตรที่ 5 Introduction to Prompt Engineer and Generative AI
เนื้อหา เอไอ การสื่อสารกับระบบปัญญาประดิษฐ์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ด้านการสร้างข้อมูล การใช้ประโยชน์ ผลกระทบ
วิทยากร ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์
ทั้งนี้ นักศึกษาจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เป็นผู้ช่วยสอนและจัดกิจกรรมสัมพันธ์ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 74 คน
หลักการและเหตุผล
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีภารกิจจัดการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ให้มีมาตรฐานระดับสากลโดยมาตรฐานการศึกษา AUN-QA และ ABET เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาในหลักสูตรที่สาขาวิชาได้ดำเนินการในปัจจุบัน สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จึงมีความประสงค์เปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดประสบการณ์เกี่ยวกับสายอาชีพภายในหลักสูตรฯ บรรยากาศการเรียนการสอน ห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติติการต่างๆ ผ่านเนื้อหารายวิชาในหลักสูตร และลงมือปฏิบัติติการ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ก่อนที่นักเรียนจะต้องตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา