คณะครูและนักเรียน IDN Boarding School ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายชั้นนำจากประเทศอินโดนีเซีย มุ่งเน้นด้านการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) จำนวน 77 คน เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์๋ วันพฤหัสที่ 22 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568
ทางสาขาวิชาฯ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกของสาขาวิชาฯ อย่างใกล้ชิด

498676574 1224973066087729 6819995181712821697 n

498694651 1224972852754417 2936765197077835338 n

498590582 1224973896087646 982778332445112265 n

499410222 1224973922754310 8080098160056552890 n

499205125 1224972996087736 6043473482509981614 n

 i2

i3

i8

i12

i7

i5

i9

 

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาใหม่ (รหัส 68) ที่ผ่านการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์ที่จะเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ภายใต้ โครงการ "การเตรียมความพร้อมนักศึกษาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์" ขึ้น ในระหว่าง วันที่ 9 – 13 มิถุนายน 2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น ณ ห้องปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Laboratory) R300 และห้องปฏิบัติการสนามทดลองปัญญาประดิษฐ์ (AI Workshop) R302 สาขาวิชาฯ ขอให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว 

รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิศวกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร หัวข้อ Digital Transformation Ethical and Security Issues ในการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ.  2568 ของ สมาคมนวัตกรรมการพยาบาลและสุขภาพ  หรือ Nursing Innovation and Health Association (NIHA) โดยจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 11.00-12.00 น. ผ่านการประชุมซูมออนไลน์ 

498674695 9838390919531000 624776929710871139 n 1

โครงการส่งเสริมการลงทุนหรือประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระยะการก่อตั้งธุรกิจ ในรูปแบบแนวคิดธุรกิจ (Idea Stage) ได้เป็น Finalist ได้รับเงินทุนสนับสนุน 200,000 บาท

ในวันที่  17 พฤษภาคม พ.ศ.  2568 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จัดกิจกรรมการตัดสินดิจิทัลสตาร์ทอัพ ระยะ Idea Stage รอบ Final Pitching และกิจกรรมต่อยอดการสร้างเครือข่ายระดับประเทศ (Networking) พร้อมด้วยงานแถลงข่าวการสนับสนุนดิจิทัลสตาร์ทอัพผ่านมาตรการ depa Digital Startup Fund ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สำนักงานใหญ่) ซอยลาดพร้าว เขตจตุจักร 10 โดยมี นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล depa เป็นประธานเปิดกิจกรรม และ ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นเข้าร่วมกิจกรรม โดยปีนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมตัดสินดิจิทัลสตาร์ทอัพ ระยะ Idea Stage ทั้งสิ้น 120 ทีมจาก 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ ก่อนคัดเหลือ 45 ทีมผ่านเข้าสู่รอบ Final Pitching ในครั้งนี้ และคัดเลือกทีมที่มีศักยภาพโดดเด่น 26 ทีมได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก depa ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการเริ่มต้นธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล (depa Digital Startup Fund)

โครงการ Watermatic – ระบบบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะสำหรับโรงแรม ผ่านเข้ารอบ Finalist ในโครงการส่งเสริมการลงทุนหรือประกอบกิจการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ในระยะ Idea Stage พร้อมได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 200,000 บาท เพื่อใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีต้นแบบและต่อยอดสู่การใช้งานจริงในภาคธุรกิจ

ทีม Watermatic ประกอบด้วย

• CEO: นางสาวพิชชาภัทร์ แซ่หลี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

• CTO: นายสิริพงษ์ โชติรัตน์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

• COO: นางสาวนันท์นภัส ระวังงาน วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ สาขาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

5b0967f8 0ff0 424f 8b94 b3e0f2597bfe

29ce1966 11c4 42cd bdcf c78618e26104

c40f8c5e e6f2 4154 b4f7 57b20e845305
นอกจากนี้ depa ยังได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในการสร้างกระบวนการพัฒนาศักยภาพให้กับดิ
จิทัลสตาร์ทอัพระยะ Idea Stage ตั้งแต่การพัฒนาแนวคิดธุรกิจ การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการเชื่อมโยงกับนักลงทุนและตลาด พร้อมกันนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรสำคัญอย่าง บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) (G-Able) ที่สนับสนุนหลักสูตรและการทำ Boot Camp เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกิจและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดรวมถึงอุทยานวิทยาศาสตร์ในแต่ละภูมิภาคที่ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการคัดเลือกในรอบภูมิภาคร่วมกับเหล่านักลงทุนจากบริษัท Venture Capital ชั้นนำ และสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จ มีประสบการณ์ตรงในการทำธุรกิจ และพร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
 
ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและความเคลื่อนไหวของกิจกรรมต่าง ๆ จาก depa ได้ทาง www.depa.or.th, LINE OA: depaThailand และ Facebook Page: depa Thailand
 
 
คณาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ร่วมเป็นวิทยากรจัดอบรมหลักสูตร CyberSecurity ในโครงการพัฒนาศักยภาพด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ให้กับบุคลากรด้านสาธารณสุข  โดยได้เปิดตัวที่แรกของภาคใต้อย่างเป็นทางการ  ในวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2568 ณ ห้อง R301 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) โครงการนี้ดำเนินการโดย ศูนย์วิศวกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.  ร่วมกับ  กลุ่มงานบริการวิชาการ วิศวฯ ม.อ.
ทีมวิทยากร
1. รองศาสตราจารย์ ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธัชชัย เอ้งฉ้วน สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ.
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตย์ศิริ ช่อเจี้ยง คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ. 
หลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนด้านความปลอดภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานในด้านบริการที่มีความเฉพาะตัว นำร่องโดยบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อตอบสนองการสร้างกลไก พัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์ที่มีคุณภาพในระดับสากลอย่างต่อเนื่อง
หลักสูตรนี้จัดอบรมเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์ รวม 27 วัน จำนวน 3 รายวิชา ดังนี้
✦ รายวิชา “Cybersecurity Essential” ระหว่างวันที่ 17, 18, 24, 25, 31 พฤษภาคม และวันที่ 1, 7, 8, 14 มิถุนายน 2568
✦ รายวิชา ”System Penetration Testing” ระหว่างวันที่ 21, 22, 28, 29 มิถุนายน และวันที่ 5, 6, 12, 13, 19 กรกฎาคม 2568
✦ รายวิชา "Incident Detection, Prevention and Response" ระหว่างวันที่ 2, 3, 9, 10, 16, 17, 23, 24, 30 สิงหาคม 2568
✦ ━━━━━━━━━━━━━━━━
ทั้งนี้หากสนใจ #หลักสูตรการอบรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ #มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. 074-287054, 074-287423 และ 089-7333125
E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
✦ ━━━━━━━━━━━━━━━━
499035128 1234067758719871 1437169419326346256 n
498245179 1234696885323625 8340667940612670412 n
498266582 1234697098656937 6374181839467566003 n
 498603002 1234067822053198 4988461190558056689 n
498584498 1234068012053179 4032401045828009178 n
 
498567727 1234067962053184 5355685684781624651 n
 
498009626 1234067892053191 2415154468229475115 n
496940791 1234067818719865 6434377869211079203 n
499031839 1234067925386521 4678975443204047834 n
496932748 1234068035386510 1971044574849676834 n
498211191 1234696751990305 9115344428420046704 n
498244287 1234696805323633 7252983567839035456 n
499561063 1234697105323603 1614602307853207536 n
498652380 1234696808656966 2751690215772033816 n
498710425 1234696741990306 2649077717089590926 n

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติ “It's All About the Computer Engineer” สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ครั้งที่ 1  สอนโดยคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค และนักศึกษาของสาขาวิชา จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 21 - 25 เมษายน 2568 ณ ห้องปฏิบัติการประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  จำนวน 5 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรที่ 1 Easy Robot  

เนื้อหา การบังคับหุ่นยนต์เบื้องต้น การต่อประสานเซ็นเซอร์กับการทำงานของหุ่นยนต์เบื้องต้น การบังคับหุ่นยต์ตามภาระกิจ

วิทยากร ผศ.ดร. สหพงศ์ สมวงค์  

หลักสูตรที่ 2 Unity Low-Code Game Maker 

เนื้อหา พื้นฐานการพัฒนาเกมด้วยยูนิตี้ การสร้างเกมแบบ Low Code  การบังคับให้วัตถุให้เคลื่อนไหว   

วิทยากร ผศ.ดร. กฤษณ์วรา รัตนโอภาส

หลักสูตรที่ 3 Cyber$ecu®ity 

เนื้อหา ความมั่นคงไซเบอร์ การเข้ารหัส การถอดรหัส การหาช่องโหว่ การป้องกันช่องโหว่

วิทยากร  รศ.ดร. แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ ผศ. ธัชชัย เอ้งฉ้วน ดร.ธนาธิป ลิ่มนา นายรุ่งโรจน์ แซ๋จุ้ง นายพิพัฒน์ พิพิธพัฒนพงศ์

หลักสูตรที่ 4 Introduction to Python Programming 

เนื้อหา การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพธอน เงื่อนไข ทางเลือก วงวน อัลกอริทึม 

วิทยากร  อ.เสกสรรค์ สุวรรณมณี

หลักสูตรที่ 5 Introduction to Prompt Engineer and Generative AI 

เนื้อหา  เอไอ การสื่อสารกับระบบปัญญาประดิษฐ์ ระบบปัญญาประดิษฐ์ด้านการสร้างข้อมูล การใช้ประโยชน์ ผลกระทบ

วิทยากร  ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์

ทั้งนี้ นักศึกษาจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เป็นผู้ช่วยสอนและจัดกิจกรรมสัมพันธ์ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 74 คน

หลักการและเหตุผล

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีภารกิจจัดการศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ให้มีมาตรฐานระดับสากลโดยมาตรฐานการศึกษา AUN-QA และ ABET เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาในหลักสูตรที่สาขาวิชาได้ดำเนินการในปัจจุบัน สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จึงมีความประสงค์เปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดประสบการณ์เกี่ยวกับสายอาชีพภายในหลักสูตรฯ บรรยากาศการเรียนการสอน ห้องเรียนหรือห้องปฏิบัติติการต่างๆ ผ่านเนื้อหารายวิชาในหลักสูตร และลงมือปฏิบัติติการ ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ก่อนที่นักเรียนจะต้องตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา 

 

ce1

ce2 

ce12 

ce3

ce4

a1

 s7 s10

a2

ce10

s1 s2

s3 s5

r2 r4

s17 r5

ce8 ce9

r1 s19

ce11

ce18

ce15

ce19

ce14

ce25

ce28

ce30

 

 

 

 

 

Page 1 of 26
Go to top