ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์และคณะทำงานได้รับรางวัลเหรียญเงินในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2568

ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์และคณะทำงานได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม Thailand New Gen Inventors Award (I-New Gen Award 2025) ในงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2568  จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 2-6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ 

หัวข้อสิงประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัล คือ เรื่อง "การพัฒนาเบาะรองนอนจากฟองน้ำยางธรรมชาติร่วมกับเจลยูริเทนเพื่อลดปัญหาแผลกดทับ"

คณะทำงาน

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์
  2. ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. นางสาวกิ่งกาญจน์ เปี่ยมธรรมโรจน์
  4. นางสาวอามาลย์ มาอุมา
  5. นางสาวกัลยารัตน์ รัตนชล
  6. นางสาวซ่าฟีนา ดารานีตาแล

โดยผู้ได้รับรางวัลได้เข้ารับมอบกระเช้าแสดงความยินดีจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในที่ประชุม คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลับ (กบม.) เมื่อวันที่ มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดี 

งาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2568 (Thailand Inventors’ Day 2025) ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย: ความท้าทายของประเทศ” จัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ ณ Event Hall 101-104  ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา 

โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award (I - New Gen Award)"ขึ้น เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจและมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยและนวัตกรในอนาคตตาม เป้าหมายในการสร้าง“เยาวชนผู้เปลี่ยนอนาคต : Youth as Future Changer” ได้มีเวทีในการแสดงความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้นซึ่งจะนำไปสู่ช่องทางในการขยายฐานบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคตและยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ

ประเภทการประกวด

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย

1. ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย)

2. ระดับอาชีวศึกษา(ประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)

3. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโท)

กลุ่มเรื่องการประกวด แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง  กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพ (Health Tech) ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัย การดูแลรักษา
การป้องกันและบำบัด การสร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ การอำนวยความสะดวกหรือเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง การเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและจิตใจ
เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ทุพพลภาพ และประชาชนทุกช่วงวัย รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัล

ความแปลกใหม่ : เป็นผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นที่พัฒนาขึ้นใหม่ หรือพัฒนารูปแบบวิธีการทำงานใหม่ให้ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน ผลงานมีความโดดเด่น
น่าสนใจ และแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากสิ่งประดิษฐ์ชิ้นอื่นในประเภทเดียวกัน     

ความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ : วัสดุที่ใช้เหมาะสม ประหยัด มีความ  คงทนแข็งแรง ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

ความยากง่าย: โดยวัดจากระดับของการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับผลงานประดิษฐ์คิดค้นอย่างเดียวกันหรือในวิทยาการเดียวกันและพื้นความรู้ความสามารถของ
ผู้ประดิษฐ์ในระดับเดียวกัน   

ความเป็นที่ต้องการ :เป็นผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญหรือเป็นผลงานที่สอดคล้องกับความจำเป็นหรือความต้องการของชุมชน สังคม ท้องถิ่นหรือสาธารณะ   

การใช้ประโยชน์ :เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมในเชิงชุมชน/สังคม ภาคบริการ การผลิต พาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่กำหนดไว้ในคุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์นั้นมีระบบการทำงานไม่ยุ่งยากซับซ้อนและ/หรือเป็นผลงาน
สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างหรือสามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่ได้ด้วย และ/หรือเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่จะมีประโยชน์มาก
ในอนาคต

 
Go to top