รศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์ เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยร่วมงาน Alibaba Cloud Onwards Summit 2025 โดยนำเสนอรายงานด้าน Sustainability และรับรางวัล AI Role Model University of the Year ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 ณ โรงแรม Pan Pacific Orchard ประเทศสิงคโปร์

ในปีนี้มี 3 มหาวิทยาลัย รวม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ได้รับรางวัล AI Role Model University of the Year  เนื่องจากได้ร่วมกับทางอาลีบาบาพัฒนาความรู้และทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์แก่นักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยจนได้รับประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้องมีจำนวนเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ อันเป็นผลมาจากการลงนามความร่วมมือ  (MOU) ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา 

รศ.ดร.พิชญา ตัณฑัยย์ ได้นำเสนอรายงานด้าน PSU Carbon Credit Management จากข้อมูลของคณะกรรมการ Working Group on Carbon Neutrality and Net Zero Greenhouse Gas Emission ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ซึ่งมี รศ.ดร.จรงคพันธ์ มุสิกะวงศ์ จากสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นประธาน ใน Breakout Session:  Towards AI Driven, Easily Implementable ESG (Environmental/Social/Governance)  ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้อง The Chairman's Lounge ชั้น 3 ในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลา 15.00-17.00 น.

al4

Breakout Session:  Towards AI Driven, Easily Implementable ESG

al5

ผู้ร่วมงานจากประเทศไทย จาก Alibaba Cloud Academy Thailand, สมาคมโปรแกรมเมอร์ไทย, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย

al3

รางวัล AI Role Model University of the Year 2025

f8b54848 5b4b 4610 a74f 3eafa583ccdf

 

 

 

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการในหลักสูตรประกาศนียบัตรด้านการเจาะระบบอย่างมีจริยธรรม เมื่อวันที่ 16-18 มกราคม 2568  โดยนายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้เข้าร่วมในการอบรมดังกล่าวและเข้ารับประเมินทักษะ ประกาศนียบัตร EC-Council CEH ตามมาตรฐานในระดับสากล เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2568 และได้รับใบรับรองประกาศนียบัตร EC-Council CEH ซึ่งเป็นใบรับรองสำหรับสายงานความปลอดภัยไซเบอร์และการป้องกันเครือข่าย
Certified Ethical Hacker (CEH)
Certified Ethical Hacker (CEH) คือใบรับรองที่ออกโดย EC-Council (International Council of E-Commerce Consultants) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับโลกที่ให้การอบรมและออกใบรับรองความรู้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญที่สามารถระบุช่องโหว่และจุดอ่อนของระบบเครือข่ายและแอปพลิเคชันได้ CEH ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคนิคและเครื่องมือที่นักเจาะระบบใช้ในการเข้าถึงข้อมูล โดยมีเป้าหมายเพื่อป้องกันและเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ การได้รับใบรับรองนี้เป็นการยืนยันว่าผู้ถือใบรับรองมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์  
Certified Ethical Hacker (CEH) เป็นใบรับรองที่ได้รับการยอมรับทั่วโลกในสายงานความปลอดภัยไซเบอร์ โดยเฉพาะในการทดสอบเจาะระบบและการป้องกันเครือข่าย CEH เป็นที่ต้องการสูงในยุคที่การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก
การสอบใบรับรอง Certified Ethical Hacker (CEH)

ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญต่างๆ ที่ครอบคลุมความรู้พื้นฐานจนถึงระดับสูงเกี่ยวกับการเจาะระบบและการป้องกันเครือข่าย หัวข้อที่ผู้เรียนจะได้ศึกษา ได้แก่

1. Footprinting and Reconnaissance การเก็บข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเป้าหมายที่ต้องการเจาะระบบ เช่น การใช้เครื่องมือสแกนเน็ตเวิร์ก การวิเคราะห์เว็บไซต์ และการค้นหาข้อมูลผ่านเครื่องมือ Open Source Intelligence (OSINT)

2. Scanning Networks การสแกนเครือข่ายเพื่อหาช่องโหว่และจุดอ่อน รวมถึงการใช้เทคนิค Port Scanning, Vulnerability Scanning และ Network Mapping เพื่อเตรียมการเจาะระบบ

3. Gaining Access การเจาะเข้าสู่ระบบหรือเครือข่ายโดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การใช้ Brute Force, Password Cracking, และ Exploitation Techniques

4. Maintaining Access การรักษาการเข้าถึงระบบที่เจาะเข้าไปได้ เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น การเก็บข้อมูลหรือการใช้ระบบเป็นฐานในการเจาะระบบอื่น ๆ

5. Covering Tracks การลบหลักฐานการเจาะระบบเพื่อไม่ให้เจ้าของระบบตรวจพบการกระทำที่เกิดขึ้น รวมถึงการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การลบ Log Files และการใช้ Rootkit

6. Malware Threats การศึกษาประเภทของมัลแวร์ต่างๆ เช่น ไวรัส, โทรจัน, เวิร์ม และ ransomware รวมถึงวิธีการป้องกันและกำจัดมัลแวร์เหล่านี้

7. Sniffing การใช้เทคนิค Sniffing เพื่อดักข้อมูลที่ส่งผ่านในเครือข่าย เช่น การใช้โปรแกรม Wireshark และ Tcpdump

8. Social Engineering การศึกษาและทำความเข้าใจวิธีการที่ผู้โจมตีใช้ในการหลอกลวงผู้ใช้ให้เปิดเผยข้อมูลสำคัญหรือทำตามคำขอที่เป็นอันตราย

9. Denial-of-Service (DoS) and Distributed Denial-of-Service (DDoS) Attacks การป้องกันและตอบสนองต่อการโจมตี DoS และ DDoS ที่มุ่งเป้าหมายในการทำให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้

10. Web Application Hacking การเจาะระบบเว็บแอปพลิเคชันและการป้องกันการโจมตี เช่น SQL Injection, Cross-Site Scripting (XSS), และ Cross-Site Request Forgery (CSRF)

ประโยชน์ของการมีใบรับรอง Certified Ethical Hacker (CEH)

1. เพิ่มโอกาสในการทำงานและความก้าวหน้าในสายงานความปลอดภัยไซเบอร์ การมีใบรับรอง Certified Ethical Hacker (CEH) ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานในตำแหน่งที่ต้องการทักษะเฉพาะทาง เช่น Penetration Tester, Security Analyst, หรือ Cybersecurity Consultant

2. ยืนยันทักษะและความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ใบรับรอง CEH ยืนยันว่าผู้ถือใบรับรองมีความรู้ความสามารถในการระบุและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความต้องการสูงในตลาดงานปัจจุบัน

3. พัฒนาทักษะใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยไซเบอร์ การเรียนรู้ในหลักสูตร CEH ช่วยให้ผู้ถือใบรับรองสามารถเข้าใจและป้องกันภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนและการโจมตีที่มีการพัฒนาอยู่ตลอด

4. สร้างเครือข่ายและโอกาสในการเรียนรู้ร่วมกัน การเข้าร่วมกลุ่มผู้ถือใบรับรอง CEH ช่วยให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญในวงการความปลอดภัยไซเบอร์

ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างดีเด่น ด้านกิจการนักศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2567

ทั้งนี้ เนื่องจากอาจารย์มีบทบาทสำคัญในการอุทิศตนและผลักดันทั้งในด้านวิชาการและกิจกรรมนักศึกษาให้กับทีม  Formula 1 ชื่อทีม "ลูกพระบิดา" ของของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จนกระทั่งประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในปี 2566 ที่ผ่านมา

ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย เข้ารับพระราชทานรางวัล จาก ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และเข้ารับรางวัลในงาน "คุณค่าสงขลานครินทร์ ประจำปี 2568" (PRIDE of PSU 2025) จากอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร. นิวัติ แก้วประดับ ในวันที่  13 มีนาคม พ.ศ. 2568 วันคล้ายวันสถาปนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อ่านเพิ่มเติมคำสดุดีเกียรติคุณและข้อเขียนเกี่ยวกับรางวัลนี้ของอาจารย์ได้ที่หอประวัติ

การสอบนำเสนอโครงงาน (Project Day) ในรูปแบบนิทรรศการ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยนักศึกษาต้องเริ่มต้นศึกษาด้วยรายวิชาเตรียมโครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ในภาคการศึกษาที่ 2 ของชั้นปีที่ 3 เมื่อสอบโครงร่างโครงงานผ่านแล้ว จึงศึกษาในรายวิชาโครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1  หรือโครงงานทางวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ 1 ในชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 และ ศึกษาโครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 2 หรือโครงงานทางวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ 2 ในชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 
กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่  6 มีนาคม 2568 ณ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ (ตึกหุ่นยนต์) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หัวข้อโครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือโครงงานทางวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เป็นการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ต่อยอดองค์ความรู้ รวมถึงแก้ปัญหาโจทย์จากหน่วยงานภายนอก รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น นำโจทย์จากภาคเอกชนผ่านทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน หรือปัญหาจากเทคโนโลยีคอมพิวตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบัน หรือโจทย์งานจากองค์กรที่มีความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเป็นผู้ให้คำปรึกษา และอาจารย์ประจำสาขาวิชาฯ ผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการสอบ ตั้งคำถาม ให้คำแนะนำ ทำให้เกิดการค้นคว้า ทบทวน และนำข้อเสนอแนะ มาปรับปรุง ทำให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเสนอโครงงาน เป็นการฝึกทักษะการนำเสนอ การโต้ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรับฟังผู้อื่น ผ่านกิจกรรมนิทรรศการ
หัวข้อโครงงาน ภาคการศึกษาที่ 2/2567
  • AI virtual companion box
  • navigation aid for the visually impaired
  • Adding a Visible Watermark to a Frontal Face Image of a Person
  • Abbey Health Buddy application
  • GoRun WebApplication
  • PSU ALERTS
  • Computer Hardware Laboratory Website
  • Development of a Low-Code Web Application for Managing the Tutoring School System
  • Agri Around Us: Local agri mart
  • Space renting service Software
  • Smart locker
  • Face Recognition and Timestamp in Workspace
  • Smart Greenhouse system
  • Automation applies IoT to economic crops
  • Pig feeder with IoT system
  • Application to practice reading aloud for elementary school students
  • Memory Paging Management for ReactOS
  • Dental AI chatbot for Children's dental care
  • Legal Assistance Chatbot Case Study: Thailand’s Illegal Acts Regarding Car Leasing
  • Robotic Rover Software Based on ROS2
 
481445290 9747443771933490 2623019279761039900 n
 
a1
 
a2
a4
a5
a7
a8
a9
a10
a11
a12
a13
a14
a16
a17
a18
a19
a20a21
a26a27a29
a24

ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์และคณะทำงานได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม Thailand New Gen Inventors Award (I-New Gen Award 2025) ในงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2568  จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 2-6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ 

หัวข้อสิงประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัล คือ เรื่อง "การพัฒนาเบาะรองนอนจากฟองน้ำยางธรรมชาติร่วมกับเจลยูริเทนเพื่อลดปัญหาแผลกดทับ"

คณะทำงาน

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์
  2. ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. นางสาวกิ่งกาญจน์ เปี่ยมธรรมโรจน์
  4. นางสาวอามาลย์ มาอุมา
  5. นางสาวกัลยารัตน์ รัตนชล
  6. นางสาวซ่าฟีนา ดารานีตาแล

โดยผู้ได้รับรางวัลได้เข้ารับมอบกระเช้าแสดงความยินดีจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในที่ประชุม คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลับ (กบม.) เมื่อวันที่ มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดี 

งาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2568 (Thailand Inventors’ Day 2025) ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย: ความท้าทายของประเทศ” จัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ ณ Event Hall 101-104  ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา 

โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award (I - New Gen Award)"ขึ้น เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจและมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยและนวัตกรในอนาคตตาม เป้าหมายในการสร้าง“เยาวชนผู้เปลี่ยนอนาคต : Youth as Future Changer” ได้มีเวทีในการแสดงความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้นซึ่งจะนำไปสู่ช่องทางในการขยายฐานบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคตและยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ

ประเภทการประกวด

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย

1. ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย)

2. ระดับอาชีวศึกษา(ประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)

3. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโท)

กลุ่มเรื่องการประกวด แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง  กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพ (Health Tech) ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัย การดูแลรักษา
การป้องกันและบำบัด การสร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ การอำนวยความสะดวกหรือเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง การเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและจิตใจ
เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ทุพพลภาพ และประชาชนทุกช่วงวัย รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัล

ความแปลกใหม่ : เป็นผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นที่พัฒนาขึ้นใหม่ หรือพัฒนารูปแบบวิธีการทำงานใหม่ให้ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน ผลงานมีความโดดเด่น
น่าสนใจ และแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากสิ่งประดิษฐ์ชิ้นอื่นในประเภทเดียวกัน     

ความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ : วัสดุที่ใช้เหมาะสม ประหยัด มีความ  คงทนแข็งแรง ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

ความยากง่าย: โดยวัดจากระดับของการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับผลงานประดิษฐ์คิดค้นอย่างเดียวกันหรือในวิทยาการเดียวกันและพื้นความรู้ความสามารถของ
ผู้ประดิษฐ์ในระดับเดียวกัน   

ความเป็นที่ต้องการ :เป็นผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญหรือเป็นผลงานที่สอดคล้องกับความจำเป็นหรือความต้องการของชุมชน สังคม ท้องถิ่นหรือสาธารณะ   

การใช้ประโยชน์ :เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมในเชิงชุมชน/สังคม ภาคบริการ การผลิต พาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่กำหนดไว้ในคุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์นั้นมีระบบการทำงานไม่ยุ่งยากซับซ้อนและ/หรือเป็นผลงาน
สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างหรือสามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่ได้ด้วย และ/หรือเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่จะมีประโยชน์มาก
ในอนาคต

 

ดร.ปภณ ยงพิศาลภพ ผู้อำนวยการศูนย์อาลีบาบาคลาวด์อาคาเดมี่ ประเทศไทย และ Training Advisor for Alibaba Cloud International บรรยายออนไลน์ในหัวข้อ “Why Move to Alibaba Cloud” ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2 ในชุดวิชา Software-defined Architecture Engineer ทางซูมออนไลน์ในวันที่  3 มีนาคม พ.ศ.  2568 เวลา 9.30-11.00 น.

 

Page 1 of 25
Go to top