สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดสัมมนาพิเศษ เรื่อง Introduction to Quantum Networking ในโครงการพัฒนานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในวันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 เวลา 13.00 – 15.00 น. ณ ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โดย วิทยากร คือ นายร่มธรรม ศรีพจนารถ นักศึกษาระดับปริญญาเอก นักเรียนทุนรัฐบาล จาก Western Sydney University ประเทศออสเตรเลีย
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดโครงการ Bar Camp Songkhla ครั้งที่ 8 เพื่อเปิดเวทีให้กับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรและบุคคลภายนอก นักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาทางเทคนิคในด้านต่างๆที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พร้อมรับข้อมูลวิทยาการใหม่ ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2567 ตั้งแต่เวลา 8.30-18.30 น. ณ ห้องประชุม EILA สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (ตึก LRC) โดยเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน ในการนี้มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน แซ่ว่อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
- อิมพอร์ต สตาร์ จำกัด
- บริษัท เน็กซ์ฮอป จํากัด
- บริษัท อัลกอริตี้ จำกัด
- บริษัท ที.ที. ซอฟแวร์ โซลูชั่น จำกัด
- บริษัท บนเมฆ จำกัด
- บริษัท เปาคลาวด์ จำกัด
- บริษัท อินโนเวทีฟ เอ็กซ์ตรีมิสต์ จำกัด
- บริษัท ไบต์อาร์ค จำกัด
- บริษัท ซคูลเมท เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
- บริษัท โลเร็มบอร์ด จำกัด
- บริษัท เทเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด
- สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (EILA) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 2 จำนวน 3 คน พร้อมอาจารย์ผู้ควบคุมทีม ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติด้วย Robomaster ประจำปีพ.ศ. 2567 หรือ ROBOMASTER 2024 จัดโดย คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ร่วมกับ บริษัท GAMMACO Thailand ณ หอประชุมภักดีดำรงค์ฤทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 24-26 มกราคม พ.ศ. 2567
รายชื่่อผู้เข้าร่วมแข่งขัน
1. นายภูมินทร์ สาทิพย์จันทร์ รหัสนักศึกษา 6510110363
2. นายสิทธา สหธรรม รหัสนักศึกษา 6510110488
3. นายปวณนนท์ พานิช รหัสนักศึกษา 6510110269
ชื่อทีม TheLastOfCoding
อาจารย์ที่ปรึกษา ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์
วัตถุประสงค์ของงาน
ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อความต้องการ เทคโนโลยีของหุ่นยนต์ AGV ได้ถูกนำมาใช้จัดการคลังสินค้าให้การจัดการมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังเป็นการลดความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้ ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีกิจกรรมที่มีรูปแบบของการบูรณาการศาสตร์ทางด้านต่างๆ เช่น ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ เข้าด้วยกันทั้งในการเรียนการสอนภายในและนอกห้องเรียน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้งานจริง เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือประยุกต์เข้ากับการเรียนการศึกษา
คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
• รุ่นมัธยมปลาย และอาชีวศึกษา นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลาย หรือ ระดับอาชีวศึกษา(ปวช) จำนวน 2-3 คน ต่อ 1 ทีม
• รุ่นอุดมศึกษา นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 2-3 คน ต่อ 1 ทีม (ไม่อนุญาตให้ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมในการแข่งขัน)
• ครู อาจารย์ ผู้ควบคุมทีม 1 ท่าน หมายเหตุใน 1 โรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย สามารถสมัครได้ไม่เกิน 2 ทีม
รูปแบบการแข่งขัน
วันแรก อบรมการเขียนโปรแกรมให้ผู้เข้าแข่งทุกทีมก่อน
วันที่สอง ประกาศกติกาและให้ทุกทีมทำการซ้อมกับสนามแข่งขันจริงก่อนการแข่งขัน
วันที่สาม วันแข่งขัน (ทุกทีมจะมีเวลาซ้อมก่อนเริ่มการแข่งขันจริง)
ทีมต้องเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ Robomaster เพื่อเคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ และต้องทำคะแนน ให้ได้มากที่สุดตามกติกาที่ผู้จัดกำหนด
ลิงค์วิดีโอบรรยายการงาน ที่นี่